ดูบทความ
ดูบทความภาวะฮีทสโตรก
ภาวะฮีทสโตรก
หมวดหมู่:
บทความของฉัน
กลุ่มคนที่ได้รับคำเตือนให้ระวังเรื่องฮีทสโตรก มักเป็นผู้ที่ต้องทำงานกลางแดดจัด
หรือผู้สูงอายุ แต่ความจริงแล้ว หนุ่มสาวพนักงานจำนวนมาก ที่นั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ
เปิดแอร์เย็นฉ่ำ ก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน เนื่องจากร่างกายคุ้นชินกับอากาศเย็นของห้องแอร์
เมื่อออกมาเจอแดดแรง ๆ หรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นทันทีทันใดในช่วงพักกลางวัน ก็อาจทำให้
เกิดอาการช็อกได้ สาเหตุเพราะร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน ก็ทำให้เกิดอาการ “ฮีทสโตรก”
หรือ โรคลมแดดได้เช่นเดียวกัน และนี้ก็คือ ภัยเงียบที่อันตรายถึงตายอย่างหนึ่งเลยทีเดียว
ฮีทสโตรก เป็นภาวะวิกฤตของร่างกาย ที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้
ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป และไม่สามารถระบาย
ความร้อนออกได้ทันท่วงที เกิดได้จากการออกกำลังหรือเล่นกีฬาในภาวะอากาศร้อนจัด
หรืออยู่กลางแดดร้อนเป็นเวลานาน สามารถเกิดขึ้นได้แม้กับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง โดยมีอาการสำคัญคือ
• ผิวหนังแห้ง และร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก
• เพ้อ หรือหมดสติ ระดับความรู้สึกตัวลดลง
• ชีพจรเต้นเร็ว
• ความดันเลือดลดลง
• กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว
• การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว
• วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน
• กระหายน้ำมาก
• หายใจเร็ว
การป้องกันการเกิดโรคลมแดด
• ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน หากทำงานในที่ร่ม
ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยสามารถสังเกตว่าดื่มน้ำเพียงพอแล้วหรือยังได้
ให้สังเกตจากสีของปัสสาวะ ถ้าสีเหลืองจาง ๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอแล้ว
แต่ถ้าปัสสาวะสีเข้มขึ้นและปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ
• สวมใส่เสื้อผ้าเบา บาง มีสีอ่อน และระบายความร้อนได้ดี
• ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป
• หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด ในวันที่อากาศร้อนจัด
• หลีกเลี่ยง การกินยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาลดน้ำมูกไม่ง่วง ยาคัดจมูก
ก่อนการออกกำลังกาย หรือการอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
• ในเด็กเล็ก และคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้อง
ที่อากาศระบายได้ดี อย่าปล่อยให้เด็ก หรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง
สำหรับการช่วยเหลือ ให้นำผู้ที่มีอาการ นอนราบในที่ร่ม ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่ม
การไหลเวียนของเลือด ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว
คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ รวมกับใช้พัดลมช่วยเป่า หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัว
เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา
ในผู้ที่มีอาการไม่มาก ควรให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ
ดังนั้น หนุ่มสาวออฟฟิศไม่ควรมองข้าม อย่าคิดว่าไม่เป็นไร ควรหลีกเลี่ยงออกแดด
แบบกระทันหัน ในช่วงพักกลางวัน เนื่องจากร่างกายคุ้นชินกับอากาศเย็นของห้องแอร์
เมื่อออกมาเจอแดดแรง ๆ หรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นทันทีทันใดในช่วงพักกลางวัน
ก็อาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอาการไม่มาก
ควรดื่มน้ำเปล่ามากเบื้องต้นก่อน และรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป
31 สิงหาคม 2564
ผู้ชม 450 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น